top of page

พระเบญจภาคี “พระนางพญา” จังหวัดพิษณุโลก

พระนางพญา หรือที่เรียกกันว่าราชินีแห่งพระเครื่องนั้น เป็นพระเครื่องเนื้อดินที่พบในกรุเจดีย์วัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งได้รับการทะนุบำรุง และปฏิสังขรณ์โดยพระวิสุทธิกษัตริย์ พระราชธิดาในสมเด็จพระมหาจักพรรดิ และสมเด็จพระสุริโยทัย พระมเหสีในพระมหาธรรมราชา และพระชนนีของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสมเด็จพระเอกาทศรถ สำหรับวัดนางพญานั้น สันนิษฐานว่าพระวิสุทธิกษัตริย์ได้สร้างเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาอุทิศแด่พระมารดา คือ สมเด็จพระสุริโยทัยในคราวที่สิ้นพระชนม์ในการสู้รบกับกองทัพพม่า พระนางพญา เป็นพระพุทธประติมากรรมขนาดเล็ก พระพิมพ์เนื้อดินประทับปางมารวิชัย รูปทรงสามเหลี่ยมหน้าจั่วอย่างทรงเรขาคณิต ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของพระนางพญา พระนางพญาเป็นพระเนื้อดินผสมว่าน และเกสรดอกไม้ ปรากฎแร่กรวดทราย ผสมผสานคลุกเคล้า กดเป็นองค์พระแล้วเสร็จจึงนำไปเผา จำนวนพระที่สร้าง คือ 84,000 องค์ ครบถ้วนตามจำนวนพระธรรมขันธ์ ผ่านพิธีกรรมพุทธาภิเษกเป็นอย่างดี ในปัจจุบัน มีการจัดมาตรฐานพระนางพญา ไว้ 7 พิมพ์ ดังนี้ 1.พระนางพญา พิมพ์เข่าโค้ง 2.พระนางพญา พิมพ์เข่าตรง 3.พระนางพญา พิมพ์เข่าตรง (มือตกเข่า) 4.พระนางพญา พิมพ์อกนูนใหญ่ 5.พระนางพญา พิมพ์อกนูนเล็ก 6.พระนางพญา พิมพ์สังฆาฏิ  7.พระนางพญา พิมพ์ทรงเทวดา หรือพระนางพญา พิมพ์อกแฟบ



พุทธคุณ

เด่นทางเมตตามหานิยมอยู่ยงคงกระพันชาตรี


คำกล่าวบูชา

(นะโม 3 จบ)

พุทธังอาราธานานัง  ธัมมังอาราธานานัง สังฆังอาราธานานัง พุทธานุสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสติ

อานุภาเวนะ มะอะอิอุ จิเจรุนิ มะนะพะทะ นะโมพุทธายะ


 

วัดนางพญา



วัดนางพญา ตั้งอยู่ในตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก วัดนางพญาไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยใด แต่พิจารณาจากลักษณะด้านสถาปัตยกรรมของพระวิหารและพุทธประติมากรรมของประธานองค์เก่า สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นในสมัยกรุงสุโขทัยตอนปลาย หรือสมัยกรุงสรีอยุธยาตอนต้น คราวเดียวกันกับวัดราชบูรณะ ในรัช-มัยของพระมหาธรรมราชาที่ 1 (พญาลิไท) คราวที่เสด็จมาครองเมืองพิษณุโลก เป็นเวลา 7 ปี คือในระหว่างปี พ.ศ.1905 ถึงปี พ.ศ. 1912 หรือในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ คราวที่เสด็จมาครองเมืองพิษณุโลก เป็นเวลา 25 ปี คือระหว่างปี พ.ศ. 2006 ถึง พ.ศ. 2031 และได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ให้มีสภาพสมบูรณ์มาตลอดตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรีเรื่อยมาถึงกรุงรัตนโกสินทร์จนถึงปัจจุบัน


อนึ่งมีผู้สันนิษฐานว่าผู้ที่สร้างวัดนางพญา คือพระนางวิสุทธิกษัตริย์เอกอัครมเหสีของสมเด็จพระมหาธรรมราชา (ขุนพิเรนทรเทพ) ซึ่งเป็นพระมารดาของสมเด็จพระศรีสุพรรณกัลยาสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและสมเด็จพระเอกาทศรถ คราวที่สมเด็จพระมหาราชาเสด็จมาครองเมืองพิษณุโลก ในฐานะพระราชบุตรเขยของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ในระหว่างปี พ.ศ. 2091 ถึงปี พ.ศ. 2112 และเหตุที่เรียกว่า “วัดนางพญา” อาจเป็นเพราะพระนางวิสุทธิกษัตริย์ทรงประทับที่เมืองพิษณุโลกด้วยศักดินาแห่งพระนางสูงกว่าคนทั้งปวงในเมืองฝ่ายเหนือ เปรียบเหมือนนางพญาผึ้งซึ่งเป็นใหญ่กว่าผึ้งทั้งปวง จึงน่าจะเป็นที่มาของชื่อว่า “วัดนางพญา”


วัดนางพญาเป็นวัดที่มความเป็นมาที่สำคัญทั้งในด้านประวัติศาสตร์โบราณคดีด้านสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมที่ทรงคุณค่าอย่างยิ่ง โดยเฉพาะพระเครื่อง ที่เรียกว่า “พระนางพญา” ซึ่งมีการพบกรุครั้งแรกปี พ.ศ.2444 และครั้งหลังเมื่อปี พ.ศ. 2497 โดยได้รับเกียรติให้เป็นพระเครื่อง 1 ใน 5 องค์ของพระเครื่องชุด “เบญจ-ภาคี” ซึ่งเป็นชุดพระเครื่องยอดนิยมของผู้ชื่นชอบพระเครื่องเป็นอย่างมากมาทุกยุคทุกสมัย






ดู 15 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด

Comentarios


bottom of page