top of page

พระเบญจภาคี “พระผงสุพรรรณ" จังหวัดสุพรรณบุรี

อัปเดตเมื่อ 22 ส.ค.

พระผงสุพรรณ เป็นพระเครื่องที่พบในกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นพระเครื่องเนื้อดินเผา ซึ่งแสดงพุทธศิลปในสมัยอู่ทอง พระผงสุพรรณจำลองลักษณะขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าในรูปแบบปางมารวิชัยบนฐานเชียงชั้นเดียว พระเกศคล้ายฝาละมี มีกระจังหน้า พระพักตร์เคร่งขรึม พระนาสิกหนาใหญ่ พระอุระหนา ส่วนพระกรทอดเรียว จากหลักฐานแผ่นจารึกลานทองที่ค้นพบที่วัด กล่าวถึงการสร้างพระผงสุพรรณว่าสร้างโดยฤาษีผู้มีฤทธิ์ 4 ตน ในสมัยอู่ทอง มีฤาษีพิมพิลาไลย์เป็นประธาน พระผงสุพรรณเป็นพระเนื้อดิน ซึ่งเป็นเนื้อดินที่ค่อนข้างละเอียด หากเปรียบเทียบกับพระนางพญา แต่ไม่ละเอียดมากเหมือนพระรอด ถึงแม้ว่าพระผงสุพรรณเป็นพระเนื้อดิน แต่เหตุที่เรียกว่าพระผง เนื่องจากในจารึกลานทอง มีการกล่าวถึงการนำผงว่านเกสรดอกไม้ศักดิ์สิทธิ์มาผสมกับมวลสาร จึงเรียกกันว่า พระผงสุพรรณ โดยมีทั้งหมด 4 สี คือ เหลือง แดง เขียว และดำ และพบทั้งหมด 3 พิมพ์ เรียกตามลักษณะพระพักตร์ และศิลปะสกุลช่างแห่งพระพุทธรูป


พระที่พบในวัดพระศรีรัตนมหาธาตุสุพรรณบุรี มีพระบูชาศิลปอู่ทอง 2 และ 3 (กลางและปลาย) และศิลปลพบุรีเนื้อสัมฤทธิ์ พระพิมพ์เนื้อชินขนาดใหญ่เท่าฝ่ามือ พระเครื่องเนื้อชินศิลป-อู่ทองและสุโขทัย พระผงสุพรรณ โดยเฉพาะพระผงสุพรรณสมัยโน้นมีราคาเพียงองค์ละครึ่งสตางค์ใครข้ามฟากโดยเรือจ้างไม่มีเงินเอาพระผงสุพรรณให้แทนก็ได้ เพราะค่าข้ามฟากเรือจ้าง 1 สตางค์ต่อมาค่อย ๆ เขยิบสูงขึ้นเป็นองค์ละ 5 สตางค์ แต่ก็ไม่มีใครสนใจเท่าใดนัก บางคนบอกว่ามีเป็นกำใครซอก็ให้โดยมิได้อิดเอื้อนแต่ประการใด ต่อมาราคาเขยิบสูงขึ้น ๆ ปัจจุบันองค์สวย ๆ ราคาเป็นล้านสองล้านบาทเข้าไปแล้ว ยากที่เราท่านจะสะสมไว้ได้



1.มวลสารและเนื้อ แจ่มแจ้งและชัดเจนที่จารึกในลานทองกล่าวไว้ว่า “ฤาษี 4 ตน จึงพร้อมกันนำเอาแต่ว่านทั้งหลาย....และ...ถ้าผู้ใดพบพระตามที่กล่าวนี้พระว่านก็ดี พระผงเกสรก็ดี…..”ทั้งนี้ ย่อมหมายความว่าเนื้อพระผงสุพรรณจะเป็นอื่นไปมิได้นอกจาก "ว่าน" และ "ผงเกสร" คาดว่ามวลสารทั้งสองซึ่งได้จากว่านและเกสรดอกไม้นานาชนิด นำมาตากแห้งแล้วป่นจนละเอียดเป็นอณูในลักษณะ "ฝุ่น" แล้วนำไปผสมกับดินซึ่งเป็นตัวกลาง (Media) ทำให้ว่านและผงเกสรรวมตัวกันเป็นผลึก ดินนั้นจะต้องนำเอามาป่นให้ละเอียดเช่นกัน ด้วยการขจัดเป็นเม็ดกรวดทรายและสิ่งสกปรกทิ้งให้หมดไป


  1.1 เชื้อสมาน ผงว่าน-ผงเกสร และดิน เมื่อผสมกันแล้วจักต้องมีเชื้อสมานทำให้มวลสารทั้งสามชนิดจับตัวกันเป็นผลึก ถ้าใช้น้ำธรรมดา มวลสารจับกันเป็นผลึกจริงแต่อาจจะไม่ทนทานถาวรแตกหักได้ง่ายเชื้อสมานที่จะทำให้มวลสารทั้งสามผนึกกันแน่นจริงน่าจะเป็นน้ำหวานมากกว่าอื่น ซึ่งน่าจะได้แก่น้ำอ้อยเป็นต้น


1.2 เผาหรือไม่เผา หากวินิจฉัยจากมวลสารผงว่าน ผงเกสรและน้ำหวานเป็นส่วนผสมแล้วพระผงสุพรรณจะต้องไม่ได้เผา หากเผา ผงว่านก็ดี ผงเกสรก็ดี จะถูกเผามอดไปหมด โดยเฉพาะหวานนั้นเป็นเชื้อเพลิงอย่างดีทีเดียวนข้อนี้ข้าพเจ้าขอวินิจฉัยว่าพระผงสุพรรณไม่ได้เผาถูกอย่างไรเป็นข้อคิดเห็นของข้าพเจ้าเอง


1.3 ลักษณะของเนื้อพระ เนื้อพระผงสุพรรณมีความละเอียดเนียนและหนึกนุ่มและมีความแห้งผาก อมความเก่าไว้ บางทีก็มีเชื้อราดำเกาะติดความหนึกนุ่มของเนื้อพระผงสุพรรณ เรามองด้วยสายตาจะเห็นว่ามีความฉ่ำ เมื่อเอาสำลีหรือแปรงขนอ่อนปัดเพียงเบา ๆ 2-3 ครั้ง จะเกิดความมันขึ้นมาทันที ส่วนของปลอมนั้นสดตาเหมือนกับอิฐิใหม่กับอิฐเก่า หรือหม้อดินใหม่กับหม้อดินเก่า เมื่อท่านเอาพระลงแช่ในน้ำอุ่นชั่วครู่ ฟองน้ำเดือดปุด ๆ ขึ้นสู่ผิวน้ำอย่างถี่ยิบเอาขึ้นจากน้ำวางไว้ชั่วครู่พระจะค่อย ๆ แห้งโดยรวดเร็ว ความมันที่ถูกปัดด้วยสำลีหรือแปรงขนอ่อนหายไปเกิดความแห้งผากของผิวเดิมขึ้นมาทันที หากเป็นของปลอมเมื่อเอาขึ้นจากน้ำไม่แห้งง่ายใช้เวลานานทั้งแลดูสดตา ไม่มีความแห้งผากเลยแม้แต่น้อย


2.สัญลักษณ์ ริ้วรอยต่าง ๆ ที่ปรากฎบนองค์พระผงสุพรรณทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ตลอดจนด้านช้าง มีอยู่หลายสัญลักษณ์ ดังนี้


2.1 รอยเหี่ยวย่น ความเหี่ยวย่นจากความหดตัวของมวลสาร ที่จับกันเป็นผนึก เมื่อถูกนำไปเก็บไว้ในกรุซึ่งมีความร้อนเย็นสลับกันไป ความชื้นในองค์พระจะถูกขับออกจากการระเหยของความชื้นนี่เอง ทำให้เนื้อพระเหี่ยวหดลงได้ ถ้าพระผงสุพรรณผ่านการเผาจะไม่เหี่ยวย่นอย่างแน่นอนขอให้สังเกตดูด้านหน้าขององค์พระส่วนที่เป็นผนัง เช่นที่ซอกพระพาหา-พระกร (ซอกแขน)และซอกพระกรรณ์หรือส่วนที่ไม่ใช่องค์พระปฏิมากร จะเห็นว่าเกิดความเหี่ยวย่นขรุขระเล็กน้อยเหี่ยวมากเหี่ยวน้อยไม่เป็นที่ยุติ


2.2 รอยตอกตัด ขอบข้างของพระผงสุพรรณเกือบทุกองค์ มีรอยตอกตัด 80-90 เปอร์เซ็นต์เป็นรอยขีดยาวเป็นทิวลงไปในเนื้อพระ ลักษณะคล้ายใช้ตัดด้วยตอกโดยข้อเท็จจริงตามที่ข้าพเจ้าสันนิษฐานคิดว่าไม่ใช่ตอกตัด น่าจะใช้ของมีคมหรือมีดตัดเมื่อเฉือนลงไปในเนื้อเม็ดดินจะลู่ไปตามดินทำให้เกิดรอยขีดขึ้นได้ บางทีมีดที่ใช้ตัดนั้นแห้งเกรอะกรังไปด้วยดินลู่ลงไปในเนื้อ ทำให้เกิดรอยทิวขึ้นเส้นรอยตอกตัดที่เป็นขีดทิวขอบข้างเนื้อพระนั้น ไม่เป็นเส้นตรงเสียทีเดียว คดไปมาเนื่องด้วยเกิดการหดตัวของมวลสารในลักษณะเดียวกับการเหี่ยวย่น


2.3 ผนังขอบข้าง ขอบข้างนอกจากมีรอยจากมีรอยตอกตัดแล้วยังมีรอยลึก เว้าเป็นแอ่งเหมือนหน้ากระดานแอ่น เบื้องต้นที่ใช้ของมีคมเชือดเฉือนเนื้อพระลงไป ขอบข้างนั้นตรงเรียบเมื่อเกิดการหดตัวของมวลสารทำให้ขอบข้างนั้นยุบตัวเข้าไปได้ ขอให้ท่านพลิกดูด้านขอบข้างจะเห็นว่าเป็นแอ่งเว้าน้อยๆ


2.4 ลายมือ เป็นสัญลักษณ์สำคัญอยู่ด้านหลังขององค์พระ 99.99 เปอร์เซ็นต์ ต้องมีที่ไม่เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ นั้นเคยเห็นองค์หนึ่ง ไม่มีลายมือด้านหลัง ลายมือที่กดประทับนั้นเชื่อว่าเป็นของมหาเถระปิยทัสสะสี ศรีสาริบุตร เพราะลานทองจารึกไว้เช่นนั้น แต่ก็อาจจะมีลายมือบุคคลอื่นผสมผสานเข้าไปด้วย เพราะเคยเห็นลายมือทั้งกันหอยและมัดหวาย แต่เป็นกันหอยเสีย 99 เปอร์เซ็นต์ เส้นลายมือหยาบและหยักเป็นคลื่นน้อย ๆ เนื่องมาจากการหดตัวของมวลสาร ลายมือกัน-หอยกึ่งกลางเกิดเนินเรียบเป็นส่วนมาก ของปลอมเส้นลายมือเล็กและไม่เป็นคลื่นจะอย่างไรก็ดีมือปลอมชั้นยอดกดแม่พิมพ์มาจากองค์จริง ทำให้สันนิษฐานลำบากอยู่เหมือนกัน


2.5 คราบกรุ คราบกรุพระผงสุพรรณมี 3 สี คือ สีดำ สีขาว และสีเหลือง สีดำคาดว่าเกิดจากเชื้อราดำจับอยู่บนผิวเนื้อพระคล้ายจะล่อนออกมา เป็นสีดำหม่นไม่ใช่ดำสนิทเหมือนขนกาน้ำคราบกรุสีขาว คาดว่าเกิดจาก   เชื้อราสีขาวจับแน่นอยู่ผิวเนื้อไม่สามารถเอาออกได้ง่าย ๆ แต่ใช้นาน ๆ ไปอาจหมดได้ มักจะมีกับพระสีดำคราบกรุสีเหลือง มีลักษณะเดียวกับสีขาวพบกับพระผงสุพรรณที่มีเนื้อสีเขียว


2.6 เม็ดทราย โดยปกติแล้วเม็ดทรายต้องไม่มีในเนื้อพระผงสุพรรณอย่างเด็ดขาด เพราะผ่านการร่อนมาเป็นอย่างดี แต่อาจเป็นไปได้ว่าในขณะที่พระถูกพิมพ์แล้ววางผึ่งลมอยู่นั้น ลมอาจพัดฝุ่นปลิวไปติดองค์พระหรือวางทับเม็ดทรายเข้าก็ได้ ข้าพเจ้าเคยเห็นมาแล้ว 2-3 องค์ ที่พระพักตร์และพระอุระ โดยทฤษฎีแล้วเม็ดทรายไม่ควรมีในเนื้อพระผงสุพรรณอย่างเด็ดขาด แต่จะมีได้ด้วยเหตุผลดังกล่าวมาแล้วข้างต้น


2.7 ว่านดอกมะขาม เป็นสีแดงหม่นเซียว ๆ ฝังจมอยู่ในเนื้อพระ สันนิษฐานว่าเกิดจากดินเหนียวซึ่งเป็นเชื้อสมาน อาจมีดินแดงปนมาบ้างก็เป็นได้ แต่มีจำนวนน้อยไม่ควรถือเป็นกฎเกณฑ์ตายตัว


2.8 สี ตามลานทองจารึกว่ามี 2 สี ดำกับแดงแต่วงการรู้จักกันอย่างกว้างเพิ่มอีก 2 สี คือสีเนื้อหรือสีใบลานแห้งกับสีเขียว ดังนั้น จึงพอสรุปได้ว่ามี 4 สี ลักษณะของสีดำนั้นหาได้ดำสนิทเหมือนขนกาน้ำไม่ สีดำหม่นปนเทาและแห้งผาก ส่วนสีแดงนั้นแดงคล้ายอิฐหรือหม้อดินเก่า สีแดงมักจะแข็งแกร่ง ส่วนสีอื่นนั้นหนึกนุ่ม สีเขียวคล้ายสีก้านมะลิหรือสีมะกอกสุก หากใช้ถูกเหงื่อไคลจะกลายเป็นเขียวอมดำ อีกสีนึงเป็นสีใบลานแห้ง (จะรียกสีขาวก็ได้) ลักษณะคล้าย ๆ สีเนื้อของเรา เป็นสีที่พบมากที่สุด ดูง่ายกว่าสีดำและสีแดง มีปลอมกันมาก


3.กายวิภาค พระผงสุพรรณแบ่งพิมพ์ออกเป็น 3 พิมพ์ คือ พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้าแก่ พิมพ์หน้ากลาง และพิมพ์หน้าหนุ่ม ทั้ง 3 พิมพ์นี้  พุทธลักษณะมีความแตกต่างกัน หน้าแก่กับหน้ากลางนั้นกล้เคียงกัน ส่วนหน้าหนุ่มผิดจาก 2 พิมพ์นั้นเห็นได้ชัด


3.1 พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้าแก่ เค้าพระพักตร์คล้ายหน้าคนแก่ พระกำโบล (แก้ม) เหี่ยวและตอบ (บางองค์ไม่เหี่ยวตอบก็มี) พระหนุ (คาง) เสี้ยม บางองค์เป็นเหลี่ยมคล้ายคางคนแสดงออกถึงอารมณ์ตอนเสวยวิมุตติสุข จึงเคร่งขรึมและถมึงทึง ยอดพระเกตุมาลาเป็นต่อมกลมซ้อนกันสองชั้น ชั้นล่างใหญ่ ชั้นบนเล็ก ยอดมนพระศกเลี่ยนกรอบไรพระศกโค้ง 1 ใน 4 ของวงกลม บางองค์เห็นชัด แต่ส่วนมากไม่ชัด พระขนงเป็นปื้นเป็นขอบลึกตามส่วนที่ออกไปจากพระนาสิกตามรูปของพระเนตร ปลายพระขนงเชิดขึ้นบนตามหางพระเนตร หัวพระเนตรต่ำ หางพระเนดรสูง เพราะพระเนตรมีลักษณะเช่นนี้ จึงทำให้พระผงสุพรรณหน้าแก่มีความถมึงทึง พระเนตรข้างขวามักโบ๋ไม่มีเม็ดพระเนตร ตรงกันข้ามพระเนตรข้างซ้ายนูนโปนออกมาเป็นเม็ด ที่พูดนี้หมายถึงองค์ที่มีความสมบูรณ์ ส่วนมากเลือนรางไม่ค่อยจะชัดเจน พระนาสิกป้าน ปลายพระนาสิกบานใหญ่เท่ากับพระโอษฐ์ รอยบากของพระนาสิกด้านขวาเป็นขีดลึก ด้านซ้ายไม่มี พระโอษฐ์เล็กจู๋ มีขนาดเท่ากับปลายพระนาสิก ในลักษณะนี้ จึงสนับสนุนให้เห็นเป็นปากแพะ เพราะเหตุนี้คนรุ่นเก่าจึงเป็นเปรียญเทียบพระผงสุพรรณคล้ายกับหน้าแพะ ซึ่งมีความจริงอยู่บ้างแด่ก็ไม่เป็นการสมควรอาจเอื้อมในการเปรียบเทียบเช่นนั้น พระหนุ (คาง) เสี้ยมเล็ก บางองค์กลืนหายไปกับพระศอ แต่บางองค์เป็นเหลี่ยมคล้ายคางคน เข้าลักษณะพระพุทธรูปอู่ทอง 2 พระกรรณตอนบนติดกับขมับแล้วห้อยยาวลงมา ต้นพระกรรณด้านขวาขมวดน้อย ๆ ปลายแหลมชวยเข้าใน ส่วนด้านซ้ายต้นพระกรรณ์ไม่ได้ขมวด ปลายแหลมชวยเข้าใน ด้านขวายาวกว่าด้านช้าย อันเป็นสัญลักษณ์ของพิมพ์หน้าแก่ เว้นไว้แต่บางองค์กดไม่ชัดเท่านั้น พระศอไม่ปรากฎเลยแม้แต่น้อย จึงทำให้ส่วนของพระพักตร์ลอยอยู่เฉย ๆลักษณะของลำพระองค์ผึ่งผาย พระอุระ (หน้าอก) นูนสูงคล้ายหัวช้าง พระอุทรเป็นลำกระบอก พระรากขวัญ (ไหปลาร้า) โค้งมน พระอังสา (หัวไหล่) ก็โค้งมนรับกับพระรากขวัญ พระพาท(แขนห่อนบน) ค่อนช้างใหญ่ ช่วงพระกัจฉะ (รักแร้ แคบ สาเหตุเนื่องจากพระพาหาใหญ่นั้น(แขนท่อนล่าง) ข้ายหักเป็นมุมลาด 45 องศา พระหัตซ้ายวางหงายไว้ที่หน้าพวามชัดเจนเห็นนิ้วพระอังคุต(นิ้วหัวแม่มือ) ลอยเด่นเป็นง่าม ส่วนพระหัตถ์ขวา พระชานุ (หัวเข่า) มีลักษณะเป็นขึ้นคล้ายนวม ปลายพระหัตถ์ตัดเป็นเส้นตรง นิ้ว(หัวแม่มือ) แยกออกเป็นง่าม พระกัปประ (ข้อศอก) ทั้งสองข้ามมีระดับเสมอกันลา (หน้าตัก) กว้างพอประมาณ ขัดสมาธิราบ พระบาทขวาอยู่บน พระบาทซ้ายอยู่ล่าง พระราชานุขวาถูกพระหัตถ์ขวาวางทับ จึงเห็นพระชานุ (หัวเข่า) ด้านขวาเพียงนิดเดียวหรือแทบจะไม่เห็นเลย พระบาทขวาหงายทาบเฉียงขึ้นบนเล็กน้อย ไม่เห็นพระปราษณี (ส้นเท้า) และข้อพระบาท ที่ปลายพระบาทองค์เห็นนิ้วหัวพระบาทชัดเจน ทั้งไม่ติดกับพระชานุ (หัวเข่า) ด้วย พระชานุซ้ายใหญ่กว่าพระชานุขวา พระชงฆ์ค่อนข้างเล็กทาบเฉียงลงต่ำ พระบาทหงายขึ้น


ประมวลผลสรุป พระผงสุพรรณหน้าแก่ พระพักตร์ถมึงทึง หางพระเนตรเชิดขึ้นบน พระกรรรขวายาว พระกรรณซ้ายสั้น พระพาหา-พระกรใหญ่กว่าพิมพ์หน้ากลาง พระกัจฉะ (รักแร้) แคบ พระกัปประ (ข้อศอก) ทั้งสองข้างเสมอกัน พระหัตถ์สั้น



3.2 พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้ากลาง พิมพ์นี้ชาวสุพรรณเรียกหน้าหนุ่มมานานแล้ว อาจจะสับสนกันบ้าง ณ ที่นี้จะใช้เรียกเป็นสาลว่าพิมพ์หน้ากลาง แต่เดี๋ยวนี้เรียกเป็นสากล “หน้ากลาง”แล้ว เค้าพระพักตร์อิ่มเอิบปราศจากความถมึงทึง พระอิริยาบถวางเฉย ยอดพระเกตุมาลา พระศก กรอบพระศก มีลักษณะเดียวกับพิมพ์หน้าแก่ หัวพระเนตรกับหางพระเนตรระดับเสมอกัน พระเนตรขวาโบ๋เหมือนกับพิมพ์หน้าแก่ พระนาสิก พระโอษฐ์พระหนุ (คาง) พระศอเหมือนกับพิมพ์หน้าแก่ พระกรรณด้านซ้ายยาว ด้านขวาสั้น ตรงกันข้ามกับพิมพ์หน้าแก่ พระรากขวัญ (ไหปลาร้า) กับพระอังสา (ไหล่ โค้งมนเหมือนกับพิมพ์หน้าแก่ ส่วนที่ผิดคือ พระพาหา (แขนท่อนบน) ซ้ายลีบและผอม เพราะพระพาหาลีบนี้เองจึงทำให้ระหว่างช่วงพระกัจฉะ (รักแร้) ซ้ายกว้าง ไม่แคบเหมือนพิมพ์หน้าแก่ โดยเฉพาะพระพาหา (แขนท่อนบน) ซ้ายมีความยาว ทำให้พระกัปประ(ข้อศอก ) ต่ำลงมา จึงไม่ตรงกับพระกัปประ (ข้อศอก) ด้านขวา (ดูภาพลายเส้น) พระกร (แขนท่อนล่าง) ซ้ายสั้นและลีบเล็ก พระหัตถ์ซ้ายวางหงายหน้าพระเพลาปลายพระหัตถ์แหลมและมีความยาวกว่าพระพิมพ์หน้าแก่ บางองค์เห็นพระอังคุฐ (หัวแม่มือ) ราง ๆส่วนพระพาหา-พระกร-พรหัตถ์ ด้านขวาเหมือนกับพิมพ์หน้าแก่ พระอุระ พระอุทร พระเพลาเหมือนกับพิมพ์หน้าแก่ทั้งหมด


ประมวลสรุป พระผงสุพรรณหน้ากลางพระพักตร์ไม่มีแววดูหรือถมึงทึง หางพระเนตรไม่เชิดขึ้นพระกรรณขวาสั้น-พระกรรณซ้ายยาว ผิดกับพิมพ์หน้าแก่ พระพาหา-พระกร (แขน) ข้างซ้ายผอมลีบกว่าพิมพ์หน้าแก่ ปลายพระหัตถ์ซ้ายยาว เพราะพระพาหาพระกรซ้ายผอมลีบนั่นเองจึงทำให้ช่วงพระกัจฉะ (รักแร้) กว้างกว่าพิมพ์หน้าแก่ และพระกัปประ (ข้อศอก) ซ้ายอยู่ต่ำกว่าพระกัปประด้านขวา



3.3 พระผงสุพรรณ พิมพ์หน้าหนุ่ม พิมพ์นี้ชาวสุพรรณ เรียกว่า หน้าหมูหรือหน้านาง พุทธลักษณะค่อนข้างจะผิดกับพิมพ์หน้าแก่และหน้ากลาง มีเหมือนกันบ้างเป็นบางลักษณะ เดี๋ยวนี้เรียกตามสากล ยอดพระเกตุมาลา พระศก กรอบไรพระศก คล้ายสองพิมพ์ที่กล่าวมาแล้ว พระขนงเป็นร่องลึก หลังพระเนตรอูมบวม พระนาสิกเป็นปื้นใหญ่ องค์ที่ชัดเจนจะเห็นพระโอษฐ์กว้างกว่าพิมพ์หน้าแก่และหน้ากลาง ปลายพระกรรณย้วยเข้าในและมีระดับเสมอกัน พระศอเป็นลำนูน ผิดกับ 2 พิมพ์แล้วไม่มีพระศอ ลำพระองค์ลึกและนูนเด่น พระรากขวัญ (ไหปลาร้า) โค้งมนกลมกลืนไปกับพระศอ พระอังสา (หัวไหล่) โค้งมนและแคบกว่าพิมพ์หน้าแก่-หน้ากลาง พระพาหา-พระกร (แขน) ทั้งสองข้างใหญ่กว่าพิมพ์หน้าแก่-หน้ากลาง ถ้านำเอาไปเปรียบเทียบจะเห็นว่าผิดแผกแตกต่างกัน พระหัตถ์ซ้ายสั้นกุด พระหัตถ์ขวาที่พระชานุคล้ายพิมพ์หน้าแก่-หน้ากลาง พระกัปประ (ข้อศอก) หักเป็นมุมมนเข้าใน พระอุระกลมและมีขนาดเล็กกว่าพิมพ์หน้าแก่-หน้ากลาง พระอุทรเป็นลำกระบอก


ประมวลผลสรุป พระพักตร์คล้ายคนหนุ่มแต่มีส่วนมากเลี่ยน องค์ที่พระพักตร์ชัดเจนมีน้อย พระกรรณทั้งสองข้างย้วยเข้าใน มีพระศอ พระอุระกลมและมีขนาดเล็ก พิมพ์ลึก พระพาหา พระกรใหญ่ ขนาดขององค์พระปฏิมากรและกรอบพิมพ์ค่อนข้างเล็กกว่าพิมพ์หน้าแก่หน้ากลาง



พุทธคุณ

อยู่ยงคงกระพัน แคล้วคลาด มหาอุด เมตตามหานิยม


 

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ



วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นวัดสำคัญคู่บ้านคู่เมืองสุพรรณมาแต่อดีต ตั้งอยู่ในบริเวณศูนย์กลางของเมืองโบราณสุพรรณบุรี ในท้องที่ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรีเป็นวัดที่สำคัญตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำสุพรรณบุรี ด้านทิศตะวันตก บริเวณศูนย์กลางเมืองโบราณสุพรรณบุรี ไม่มีหลักฐานระบุแน่ชัดว่าสร้างขึ้นเมื่อใด ภายในวัดประกอบไปด้วยโบราณสถานที่สำคัญ ได้แก่ พระปรางค์ ซึ่งเป็นเจดีย์ประธานของวัดศิลปกรรมสมัยอยุธยาตอนต้นเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยม จำนวน 2 องค์ ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกของพระปรางค์ อุโบสถ วิหารน้อย และซากเจดีย์รายจำนวน 2 องค์ บริเวณด้านทิศตะวันตกของพระปรางค์ นอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูปหินทรายอีกจำนวนหนึ่งที่อยู่ภายในวิหารด้านหน้าพระปรางค์



ดู 3 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด

Comments


bottom of page