top of page

เส้นทางท่องเที่ยวตามความเชื่อความศรัทธาพระเบญจภาคี กรุงเทพมหานคร



ช่วงเช้า ออกเดินทางจาก กรุงเทพมหานคร


  • วัดระฆังโฆสิตาราม เป็นวัดโบราณครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ต่อมาในกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ และได้ขุดพบระฆัง พระสมเด็จฯวัดระฆังโฆสิตาราม เป็นองค์พระประธานใน พระชุดเบญจภาคี ท่านผู้สร้าง คือ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) นับว่าเป็นพระเครื่องยอดนิยมอันดับหนึ่งตั้งแต่มีวงการพระเครื่องมา

  • วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร เดิมมีชื่อว่า วัดแจ้ง เป็นวัดคู่บ้านคู่เมือง มีพระปรางค์ สวยงามโดดเด่นริมแม่น้ำเจ้าพระยา

  • วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอกชนิตราชวรมหาวิหาร เดิมชื่อ วัดโพธาราม เรียกกันโดยทั่วไปว่า วัดโพธิ์ เป็นวัดเก่าสมัยกรุงศรีอยุธยา

  • บ้านศิลปินตลาดนัดคลองบางหลวง เป็นชุมชนเก่าแก่ ย่านสถานีรถไฟฟ้าบางไผ่ ตั้งอยู่ริมคลองบางกอกใหญ่

  • พักรับประทานอาหารกลางวัน ร้านป้าเล็ก คลองบางหลวง เป็นร้านอาหารสไตล์บ้านริมน้ำ ซึ่งทางร้านมีการตกแต่งร้านแบบบ้านสมัยเก่า


ช่วงบ่าย


  • ศาลหลักเมือง กรุงเทพมหานคร เพื่อกราบไหว้ขอพรพระหลักเมืองและองค์เทพารักษ์ทั้ง 4 ได้แก่ พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง พระกาฬไชยศรี เจ้าเจตคุปต์ และเจ้าหอกลอง

  • ร้านขนมฝรั่งธนูสิงห์ เป็นร้านขนมฝรั่งธนูสิงห์เป็นครอบครัวที่ผลิตและจำหน่ายขนมฝรั่งกุฎีจีนที่คงเอกลักษณ์ของเนื้อขนมแบบดั้งเดิม


 

วัดระฆังโฆสิตาราม


วัดระฆังโฆสิตาราม เดิมเรียกว่าวัดบางหว้าใหญ่ ตั้งอยู่ที่ 205 ถนนอรุณอัมรินทร์ แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ เป็นวัดโบราณครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี คู่กับวัดบางหว้าน้อย คือ วัดอมรินทราราม พุทธศักราช 2312 หลังจากที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ พร้อมกับตั้งพระนครหลวงขึ้นใหม่เรียกว่า กรุงธนบุรี ได้ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์วัดบางหว้าใหญ่นี้พร้อมทั้งยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวง ต่อมาในกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ และได้ขุดพบระฆังลูกหนึ่งปรากฏมีเสียงไพเราะกังวานมาก จึงโปรดให้นำเก็บไว้ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม จากนั้นพระองค์จึงโปรดให้สร้างหอระฆังขึ้น พร้อมระฆังอีก 5 ลูก เป็นการทดแทน และได้พระราชทานนามใหม่หลังบูรณะเสร็จเรียบร้อยว่า "วัดระฆังโฆสิตาราม"



พระอุโบสถ


พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯ ให้สร้างขึ้นใหม่ แต่รูปทรงยังคงเป็นแบบของศิลปะสมัยรัชกาลที่ 1 โดยเฉพาะหน้าบันรูปนารายณ์ทรงครุฑ มีช่องหน้าต่างสองบาน ซึ่งเป็นศิลปะแบบรัชกาลที่ 1 แบบหนึ่งที่ยังเหลืออยู่ไม่กี่แห่ง ส่วนภายในพระอุโบสถก็มีพระประธานที่งดงาม หน้าอุโบสถด้านทิศใต้ ( ด้านหน้าวิหาร ) มีพระปรางค์ใหญ่ตั้งเป็นสง่าด้วยรูปทรงและสัดส่วนที่นับว่าสวยงามมากองค์หนึ่ง และมีพระเจดีย์เหลี่ยมย่อมุมสามองค์ ที่กรมหมื่นนราเทเวศร์ กรมหมื่นนเรศร์โยธี กรมหมื่นเสนีย์บริรักษ์ ทรงสร้างไว้ เป็นเจดีย์เหลี่ยมแบบรัตนโกสินทร์ ปัจจุบันยังคงอยู่ในสภาพดี


หอระฆัง


หอระฆัง คือสัญลักษณ์ของวัดระฆังสร้างแบบจัตุรมุขศิลปะ สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายและรัตนโกสินทร์ตอนต้น ด้านบนแขวนระฆังที่ได้รับพระราชทานจากรัชกาลที่ 1 จำนวนห้าลูก


หอไตร


หอไตร หรือในอีกชื่อเรียกว่า “ตำหนักจันทน์” กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนไว้เป็นโบราณวัตถุสำคัญของชาติ ในปี พ.ศ. 2492 เดิมเคยเป็นพระตำหนักและหอประทับนั่งของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช การประกอบตัวเรือนเป็นไปในลักษณะสำเร็จรูปแบบเรือนไทยโบราณ จะพิเศษไปบ้างที่การต่อเสาบากประกบกัน โดยใช้สลักเหล็กแทนเดือยไม้ พื้นก็ปูกระดานขนาดใหญ่หาดูยาก หย่องหน้าต่างเป็นลูกมะหวด กลึงสวยงามทุกช่อง ฝาปะกนด้านนอกนั้นลูกตั้งและลูกเซ็นมีบัวด้วย แต่ฝาปะกนด้านในต่างกับของเรือนโบราณ เพราะเป็นฝาเรียบเสมอกันตลอด หลังคามุงด้วยกระเบื้องขอตอนปั้นลมโบกปูนห้ามไว้ ไม่มีช่อฟ้า ใบระกาหงส์แต่อย่างใด ปัจจุบันหอไตรหลังนี้ ทางวัดได้ย้ายเข้ามาปลูกใหม่ ภายในบริเวณกำแพงแก้ว อยู่ด้านหลังพระอุโบสถทางทิศตะวันออก และบูรณะซ่อมแซมภาพเขียนที่ชำรุดเสียหายให้คงไว้ดังเดิม



วัดอรุณราชวรวิหาร


วัดอรุณราชวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ 34 แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร เมื่อพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดให้ย้ายราชธานีจากกรุงศรีอยุธยามาตั้ง ณ กรุงธนบุรี และได้ทรงสร้างพระราชวังใหม่มีการขยายเขตพระราชฐาน เป็นเหตุให้วัดแจ้งตั้งอยู่กลางพระราชวัง จึงไม่โปรดให้มีพระสงฆ์จำพรรษา นอกจากนั้นในช่วงเวลาที่กรุงธนบุรีเป็นราชธานี ถือกันว่าวัดแจ้งเป็นวัดคู่บ้านคู่เมือง เนื่องจากเป็นวัดที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตและพระบาง ซึ่งสมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึก (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) ได้อัญเชิญพระพุทธรูปสำคัญ ๒ องค์นี้มาจากลาวในคราวที่เสด็จตีเมืองเวียงจันทร์ ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น “วัดอรุณราชธาราม” ถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าให้บูรณะเพิ่มเติมอีก  แล้วทรงเปลี่ยนชื่อเป็น “วัดอรุณราชวราราม” ดังที่เรียกกันปัจจุบัน



วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์)


วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิตราชวรมหาวิหาร เดิมชื่อ วัดโพธาราม เรียกกันโดยทั่วไปว่า    วัดโพธิ์ เป็นวัดเก่าสมัยกรุงศรีอยุธยา รับกาลที่ 2 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ทั้งพระอาราม ในปี พ.ศ.2333 แล้วโปรถให้อัญเชิญพระพุทธรูปจากวัดร้างตามหัวมืองต่าง " มาประติษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ จากนั้นโปรดให้จัดงานฉลอง ในปี พ.ศ.2144 และพระราชทานนามว่า วัดพระเชตุพนวิมลมัคลาวาส ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 1 ทรงพระกรุณาโปรดกล้าฯ ให้บูรณะปฏิสังขรณ์ใหม่อีกครั้งหนึ่ง และโปรดให้รวบรวมสรรพวิชาการต่าง 1 จารึกลงบนแผ่นหินอ่อนประดับไว้ตามศาลาราย เพื่อเป็นวิหยาหาน ต่อจากนั้นรัชกาลที่ 4 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บูรณะปฎิสังขรณ์บางส่วนและพระราชทานนามใหม่เป็น วัดพระเชตุพนวิมลมัคลารามราชวมหาวิหาร วัดนี้ได้รับการขนานนามว่าเป็น มหาวิทยาลัยแห่สนวกของประเทศไทย ภายในวัดมีศาสนอาคาร และศาสนวัตถุที่น่าชมน่าศึกษามากมาย ที่รู้จักกันดีคือ พระพุทธไสยาสนพระมหาเจดียสี่รัชกาล ประติมากรรมฤาษีดัดตน และ อับเฉาติลาจีน รูปแบบต่าง 1 วัดนี้ถือว่าเป็น วัดประจำรับกาลที่ 1



บ้านศิลปินตลาดนัดคลองบางหลวง


ชุมชนคลองบางหลวง เป็นชุมชนเก่าแก่ ย่านสถานีรถไฟฟ้าบางไผ่ ตั้งอยู่ริมคลองบางกอกใหญ่ ซึ่งเป็นเส้นทางสัญจรทางน้ำสายสำคัญในอดีตที่แยกมาจากแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งขวาของป้อมวิไชยประสิทธิ์ และสิ้นสุดที่คลองมอญตรงข้ามปากคลองชักพระ ชื่อ ‘คลองบางหลวง’ เพี้ยนมาจากคำว่า ‘คลองบางข้าหลวง’ เนื่องในอดีตบริเวณนี้เคยเป็นแหล่งชุมชนของเหล่าข้าราชบริพารชั้นผู้ใหญ่มาตั้งรกรากจำลองพื้นที่เมื่อครั้งสร้างเมืองธนบุรี ทั้งยังสัญจรไปมาง่ายใกล้กับพระราชวังธนบุรี ไฮไลต์สำคัญของชุมชน แน่นอนว่าต้องเป็น ‘บ้านศิลปิน คลองบางหลวง’ พื้นที่บ้านหลังเก่าของตระกูลรักสำรวจ ตระกูลช่างทองเก่าแก่ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ก่อนขายสู่เจ้าของปัจจุบัน เพื่อปรับปรุงพื้นที่ให้กลายเป็นคอมมูนิตี้ของคนรักศิลปะ ตัวอาคารของบ้านศิลปิน คลองบางหลวง เป็นบ้านไม้สองชั้นทรงมะนิลารูปตัวแอลที่สร้างล้อมรอบเจดีย์เก่าย่อมุมไม้สิบสอง ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นหนึ่งในสี่ของเจดีย์ที่กำหนดอาณาเขตของวัด



ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร


ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร พระบาทสมเด็จพระพุทอยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้โปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธียกเสาหลักเมืองขึ้น เมื่อวันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน 2325 ณ ชัยภูมิใจกลางพระนครใหม่ที่พระราชทานนามว่า กรุงรัตนโกสินทร์อินท์อโยยา หรือเรียกกันต่อมาว่า "กรุงเทพมหานคร" สถิตสถาพรเป็นมิ่งขวัญของประชาชนชาวไทยจนถึงรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาเสาหลักเมืองต้นใหม่แทนต้นเดิมที่ชำรุดไปตามกาลเวลา และผูกดวงชะตาพระนครขึ้นใหม่ให้ต้องตามดวงพระราชสมภพ เพื่อให้ประเทศชาติและประชาชนชาวไทยทั้งหลายที่อยู่ภายใต้บระบรมโพธิสมภารประสบความเจริญรุ่งเรืองวัฒนาถาวรยิ่งขึ้น ต่อมาเมื่อปี 2524 ศาลหลักเมืองได้รับการบูรณะปรับปรุงให้มีความงดงามบริบูรณ์สมกับเป็นที่สถิตแห่งพระหลักเมืองและองค์เทพารักษ์ทั้ง  4 ได้แก่ พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง พระกาฬไชยศรี เจ้าเจตคุปต์ และเจ้าหอกลอง



ร้านขนมฝรั่งธนูสิงห์


ร้านขนมฝรั่งธนูสิงห์ เป็นครอบครัวที่ผลิตและจำหน่ายขนมฝรั่งกุฎีจีนที่คงเอกลักษณ์ของเนื้อขนมแบบดั้งเดิม ซึ่งเป็นการสืบต่อจากคนรุ่นหนึ่งสู่คนรุ่นหนึ่งอย่างสม่ำเสมอจวบจนปัจจุบันนี้เป็นรุ่นที่ 5 ของครอบครัว โดยมีคุณโป้ง ทีปกร สุจจิตรจุล เป็นผู้ดูแล



วัดหงส์รัตนาราม


วัดหงส์รัตนาราม  สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงอาราธนาพระอาจารย์ดีวัดประดู่มาชำระพระศาสนาและประกอบพิธีศักดิ์สิทธิ์ลงแผ่นหินในสระน้ำมนต์ กว้าง 6 วา ยาว 26 วา ลึก 1 วา แล้วทรง สถาปนาเป็น สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่หนึ่งโดยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เสด็จมาสรงน้ำที่สระน้ำมนต์ทุกครั้งเมื่อมีพระราชพิธีสำคัญ ในสระมีหินอาคมซึ่งพระภิกษุวัดหงส์รัตนาราม ได้รับมาจากพระเถระอาจารย์ วัดประดู่ทรงธรรมจังหวัดอยุธยา เมื่อนำออกจากย่ามแล้วโยนลงในสระกลายเป็นหินอาคมขนาดใหญ่ เชื่อว่าสมเด็จพระสังฆราชสุกไก่เถื่อนได้ฝังอาคมพุทธมนต์หลายประการทั้งสี่ทิศของสระน้ำมนต์ หากผู้ใด ได้อาบ ดื่มน้ำมนต์ในสระของแต่ละทิศจะอำนวยผลให้สัมฤทธิ์ต่างกัน คือ ทิศตะวันออกดีทางเมตตามหานิยม ทิศใต้ ดีทางมหาลาภและค้าขายทิศเหนือ ดีทางบำบัด ทุกข์ โศก โรคภัย ทิศตะวันตก ดีทางแคล้วคลาดอยู่ยงคงกระพันชาตรี



ศาลเจ้าพ่อครุฑ


จากการสัมภาษณ์ผู้ดูแล กล่าวว่า ศาลเจ้าพ่อครุฑมีมาเป็นร้อยปีแล้ว สมัยก่อนได้พบองค์เจ้าพญาครุฑที่ตรงนี้ ท่านได้ลอยตามน้ำมา คนที่เจอก็เลยตั้งศาลไว้ที่นี้ เมื่อก่อนเป็นแค่ศาลไม้เพียงตาธรรมดา จนวันหนึ่งได้มีคนมาขโมยองค์จริงไป คนที่สื่อจิตกับท่านบอกว่า ท่านไม่ได้ตามคนที่ขโมยไป ให้สร้างองค์จำลองขึ้นมา จึงได้ให้กรมศิลปะเข้ามาสร้างองค์สีทองที่อยู่ด้านล่างขึ้นมาแทน พอมีการสร้างถนนสร้างตึกขึ้นมา จากศาลเพียงตาไม้ธรรมดาก็เลยมีการปรับปรุงเป็นศาลตึก 15ปีที่แล้ว หลวงพ่อวรา ท่านได้แนะนำลูกศิษย์มาช่วยชุมชนบูรณะศาล ก็เลยได้นำองค์พญาครุฑมาติดเพิ่มเป็นองค์ด้านบน พอมีงานประจำปีก็จะอัญเชิญท่านมาด้วย



ศาลเจ้าเกียนอันเกง


ศาลเจ้าเกียนอันเกง สร้างขึ้นโดยชาวจีนที่ตามเสด็จสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชในคราวที่ทรงตั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานีแต่เดิมเป็นที่ตั้งของศาลเจ้าสองศาล ประดิษฐานเจ้าพ่อโจวชื่อกงและเจ้าพ่อกวนอู ต่อมาศาลเจ้าเดิมทรุดโทรมลงจนในสมัยรัชกาลที่3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ชาวจีนฮกเกี้ยนซึ่งเป็นบรรพบุรุษของตระกูลตันติเวชกุล และตระกูลสิมะเสถียรได้รื้อศาลเจ้าเดิมลงและสร้างศาลเจ้าขึ้นใหม่เป็นศาลเดียว คือตัวอาคารศาลเจ้าที่เห็นในปัจจุบัน พร้อมกับอัญเชิญองค์พระโพธิสัตว์กวนอิมมาประดิษฐานเป็นองค์ประธาน และเรียกขานนามศาลเจ้าแห่งนี้ว่า เกียนอันเกง ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของตระกูลสิมะเสถียร



พิพิธภัณฑ์บ้านกุฎีจีน


พิพิธภัณฑ์บ้านกุฎีจีน จัดสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2560 โดยคุณฉัตรชัยและคุณนาวินี พงศ์ไทย (ทรรทรานนท์) และครอบครัวเพื่อให้เป็นสถานที่รวบรวมข้อมูลชุมชนชาวโปรตุเกสตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี จนถึงปัจจุบันและเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ของเยาวชนในชุมชนกุฎีจีนและผู้ที่สนใจที่ต้องการทราบถึงประวัติความเป็นมา รากเหง้าของศาสนา วัฒนธรรมภาษา รวมถึง อาหารการกินของชาวโปรตุเกสในสยาม



ดู 7 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page