top of page

เส้นทางท่องเที่ยวตามความเชื่อความศรัทธาพระเบญจภาคี จังหวัดลำพูน



 รายการนำเที่ยวตามความเชื่อความศรัทธา 1 วัน จังหวัดลำพูน


ช่วงเช้า ออกเดินทางจากตัวอำเภอเมือง จังหวัดลำพูน


  • วัดมหาวันวนาราม เป็นวัดที่เก่าแก่ สร้างขึ้นในสมัยพระนางจามเทวี ซึ่งเป็นพระอารามหลวงของพระองค์และเจดีย์วัดมหาวันเป็นที่บรรจุพระรอดลำพูน

  • วัดพระธาตุหริภุญชัย เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองชาวลำพูน และยังเป็นวังที่พระเจ้าอาทิตยราชกษัตริย์แห่งราชวงศ์จามเทวีวงศ์อุทิศถวายให้เป็นวัดด้วย

  • วัดสันป่ายางหลวง เป็นวัดที่มีความสวยงามโดยเฉพาะวิหารที่ติดอันดับ 1 ใน 10 วิหารสวยของประเทศไทย

  • พักรับประทานอาหารกลางวัน ที่ ครัววันดี ลำพูน ที่มีบรรยากาศเหมือนสวนอาหาร


ช่วงบ่าย


  • วัดกู่กุด สถาปนาโดยพระนางจามเทวี ปฐมกษัตริย์แห่งหริภุญชัย เมื่อพระองค์มีพระชนมายุ 60 พรรษา ได้สละราชสมบัติออกบวชบำเพ็ญพรตอยู่ ณ วัดนี้

  • อะนะตะ garden chill คาเฟ่ เป็นคาเฟ่สวนสไตล์ญี่ปุ่น บรรยากาศร่มรื่นด้วยต้นไม้

  • อนุเสาวรีย์พระแม่จามเทวี เป็นปฐมกษัตริย์ของนครหริภุญไชย สร้างนครหริภุญไชยให้เจริญรุ่งเรืองเป็นปึกแผ่นมั่นคงพระเกียรติคุณปรากฏแผ่ไพศาลไปทั่ว


 

วัดมหาวันวนาราม จังหวัดลำพูน


วัดมหาวันวนาราม ตั้งอยู่ที่ถนนจามเทวี อำเภอเมืองลำพูน เป็นวัดที่เก่าแก่ สร้างขึ้นในสมัยพระนางจามเทวี อาณาเขต   ทิศเหนือจรดทางสาธารณประโยชน์ ทิศใต้จรดทางสาธารณประโยชน์และถนนจามเทวี ทิศตะวันออกจรดทางสาธารณประโยชน์และคูเมืองส่งน้ำ ทิศตะวันตกจรดทางสาธารณประโยชน์ อาคารเสนาสนะประกอบด้วย อุโบสถ วิหาร ศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ หอระฆัง หอไตร ปูชนียวัตถุ พระพุทธรูปพระประธานสร้างด้วยอิฐถือปูน ศิลปะล้านนา


วัดมหาวัน (มหาวันวนาราม) เป็นพระอารามหลวงของพระนางจามเทวี เจดีย์วัดมหาวันเป็นที่บรรจุพระรอดลำพูน 1 ใน 5 พระเครื่องชุดเบญจภาคีที่มีอายุเก่าแก่ที่สุด เชื่อกันว่า พระรอดมีความศักดิ์สิทธิ์หรือความขลังในด้านแคล้วคลาด ปราศจากภัยอันตรายและความวิบัติต่างๆ มีเสน่ห์เมตตามหานิยม ได้ลาภผลและคงกระพันชาตรี หากใครได้มากราบไหว้บูชาพระรอดก็จะพ้นภัยอันตรายทุกสิ่งปวง วัดเก่าแก่ อายุกว่า 1,300 ปี สร้างในสมัยพระนางจามเทวี มีพระพุทธรูปปางนาคปรกที่อัญเชิญมาจากเมืองละโว้ กรุพระเครื่องชื่อดัง คือ พระรอดมหาวัน ถือเป็นแบบพิมพ์องค์พระรอดที่มีชื่อเสียง





วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร


วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร สถานที่ศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองชาวลำพูน โบราณสถานที่สำคัญของนครหริภุญชัย เป็นวังที่พระเจ้าอาทิตยราช กษัตริย์แห่งราชวงศ์จามเทวีวงศ์อุทิศถวายให้เป็น'วัด' พระบรมธาตุหริภุญชัย ตั้งอยู่หลังวิหารหลวง ประดิษฐานพระเกศาธาตุบรรจุในโกศทองคำ สร้างขึ้นในปี พ.ศ.พ.ศ. 1440 พระอารามหลวงตั้งอยู่ใจกลางเมืองลำพูน มีพื้นที่ 40,000 ตารางเมตร ที่ซุ้มประตูทางเข้าวัดมีสิงห์ใหญ่ 1 คู่ ยืนเป็นสง่าบนแท่น สร้างขึ้นตามรูปแบบสถาปัตยกรรมศรีวิชัยโบราณ ถือเป็น 1 ใน 8 จอมเจดีย์ของไทย และยังเป็นองค์พระธาตุประจำปีเกิดของคนเกิด ปีระกาอีกด้วย





วัดสันป่ายางหลวง


วัดสันป่ายางหลวง เป็นวัดที่มีความสวยงามโดยเฉพาะวิหารได้ติดอันดับ 1 ใน 10 วิหารสวยของประเทศไทยอีกด้วย พระวิหารพระเขียวโขง สร้างเมื่อ พ.ศ. 2536 โดยใช้วัสดุเสาไม้ตะเคียนทอง ไม้แดง จากประเทศลาว พม่า และไทย พระครูบาอินทรเป็นผู้ออกแบบก่อสร้างและออกแบบลวดลายพื้นเมือง ผสมผสานระหว่างสมัยเก่ากับสมัยใหม่ วิหารพระเจ้าเขียวโขงเมื่อมองจากด้านหน้าจะมีหลังคา 5 ชั้นมีช่อฟ้า 5 ตัวหมายถึงพระเจ้า 5 พระองค์ ด้านหลังอีกสามหมายถึงศีลสมาธิปัญญา หมายถึงการปฏิบัติของพระพุทธเจ้า เพื่อเดินเข้าสู่พระนิพพาน หน้า 5 รวมหลัง 3 เป็น 8 หมายถึงต้องปฏิบัติตามทางสายกลางคือมรรค 8 ได้ธรรมมัชฌิมา ทางสายกลางคือ 9 เป็นโลกุตรธรรม นอกจากนี้ภายในวิหารพระเขียวโขงเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธอัญญรัตนมหานาทีศรีหริภุญชัย หรือพระเขียวโขง เป็นพระพุทธรูปแกะสลักจากหินแม่น้ำโขง บ้านดอนมหาวัน ที่ใกล้กับประเทศลาว





วัดจามเทวี (วัดกุกุด)


วัดจามเทวี (วัดกุกุด) ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน เดิมชาวบ้านเรียกว่า "วัดกุกุด" สถาปนาโดย พระนางจามเทวีปฐมกษัตริย์ แห่งหริภุญชัย (ลำพูน) ในพุทธศตวรรษที่ 13 เมื่อพระองค์มีพระชนมายุได้ 60 พรรษา ได้สละราชสมบัติออกบวชบำเพ็ญพรตอยู่ ณ วัดนี้ จนถึงพุทธศักราช 1276 พระชนมายุได้ 92 พรรษา แม่ชีจามเทวีได้สวรรคต เจ้าชายมหันตยศพระราชโอรส ได้ถวายพระเพลิงพระสรีระ และได้สร้างเจดีย์สี่เหลี่ยม บรรจุอัฐิธาตุของพระองค์ในเจดีย์องค์นี้ ต่อมาวัดจามเทวีได้ร้างไป จนกระทั่งปีพุทธศักราช 2469 สมเด็จพระบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุกาพ เสด็จประพาสภาคเหนือ ทรงสำรวจโบราณสถานของวัดนี้ทรงปรารกว่าพระนางจามเทวีได้สร้างวัดนี้ขึ้น จึงได้โปรดให้เปลี่ยนชื่อใหม่ว่า "วัดจามเทวี" ต่อมาพุทธศักราช ๒๔๗๘ พลตรีเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ ผู้ครองนครหริภุญชัยองค์สุดท้าย ได้อาราธนาพระครูบาศรชัยนักบุญแห่งลานนาไทยบูรณะขึ้นมาใหม่ ให้มีพระสงฆ์สามเณรอยู่ประจำจนทุกวันนี้


อนุสาวรีย์พระแม่จามเทวี


อนุสาวรีย์พระแม่จามเทวี ปฐมกษัตริย์ของนครหริภุญไชย ทรงพระราชสมภพเมื่อวันแรม 10 ค่ำ เดือน 10 พุทธศักราช 1184 มีพระสิริลักษณ์อุดมด้วยเบญจกัลยาณี กอร์ปด้วยศีลและกัลป์ยาณธรรม และทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา สร้างสรรค์คืนครหริภุญไชยให้เจริญรุ่งเรืองเป็นปึกแผ่นมั่นคงพระเกียรติคุณปรากฏแผ่ไพศาลไปทั่ว เสด็จสวรรคตเมื่อวันขึ้น 8 ค่ำ เดือน9 พุทธศักราช 1276 สิริชนมายุ 92 พรรษา



วัดพระคงฤาษี


วัดพระคงฤาษี (อาพัทธาราม) ตั้งอยู่เลขที่ 7 ถนนพระคงฤาษี ตำบลในเมือง อำเภอเมืองจังหวัดลำพูน สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 2 ไร่ 1 งาน 2  ตารางวา หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินคือ 2350 เลขที่ 28 อาณาเขตทิศเหนือประมาณ 30 เมตร จดซอยพระคงฤาษี ทิศใต้ประมาณ 30 เมตร ทิศตะวันออกประมาณ 60 เมตร ตามคำนานนั้นมีชื่อว่า "อาพัทธาราม" เป็นวัดพระนางจามเทวีโปรดให้สร้างขึ้นเป็นหนึ่งในจำนวน 4 วัดเพื่อเป็นจตุรพุทธปราการ เมื่อปี พ.ศ.1223 ประจวบกับก่อนหน้านี้ พระฤาษีสองตนคือ พระสุเทวฤาษี และพระสุกกทันตฤาษีได้มาพบกัน ณตรงจุดวัดพระคงนี้ เพื่อปรึกษาหารือกันในการที่จะสร้างหริภุญชัยนครขึ้นมา เนื่องจากการที่มีผู้พบพระพิมพ์เนื้อดินเผา เรียกว่า "พระคง" ที่วัดนี้เป็นจำนวนมากและเชื่อกันว่าเป็นพระคงที่พระวาสุเทพฤาษีและพระสุกกทันตฤาษีสร้างไว้ จึงเรียกชื่อวัดนี้ว่า "วัดพระคงฤาษี" นับตั้งแต่นั้นมา มีการได้รับพระราชทานพัทธสีมา เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ.2503 การบริหารการปกครอง โดยมีเจ้าอาวาสที่ทราบนามมีอยู่ 7 รูป รูปที่ ครูบาดัมภีระ รูปที่ 2 ครูบาแก้ว รูปที่ 3 ครูบาเลา รูปที่ 4 พระใบฎีกาอ้าย ญาณรังชีรูปที่ 5 พระอธิการบุญทา สุมังคโล รูปที่ 3 พระอธิการทา สุโภ (ท.ศ.2480-2533) ปัจจุบันพระครูอมรสันติคุณ (อินแสง อตุตสนุโต) ตั้งแต่ พ.ศ.2533 เป็นต้นมา 




วัดประตูลี้


วัดประตูลี้ หรือวัดมหารัตตาราม ที่ตั้งชุมชนประตูลี้ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง ยุคสมัยการสร้าง ยุคหริภุญไชย ความสำคัญ เป็นวัดหนึ่งที่ปรากฏเรื่องราวในตำนานที่กล่าวว่า พระนางจามเทวีได้โปรดให้สร้างขึ้นเป็นพุทธปราการปกป้องพระนครประจำทิศใต้ สิ่งก่อสร้างในปัจจุบันล้วนเป็น ของใหม่ที่บูรณปฏิสังขรณ์ในสมัยเจ้าผู้ครองลำพูนองค์ที่ 8 (พ.ศ. 2417-2435) ในบริเวณวัดได้ขุดพบพระพิมพ์ดินเผาศิลปะหริภุญไชยเป็นจำนวนมาก เช่น พระเลี่ยง, พระเลี่ยงหลวง, พระลือ, พระสาม และพระสิบสอง เป็นต้น




วัดพระยืน


วัดพระยืน ตั้งอยู่อำเภอเมือง เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองนครหริภุญชัย หรือเมืองลำพูน ตั้งแต่สมัยพระนางจามเทวี ปฐมกษัตริย์แห่งนครหริภุญชัย หลังจากที่พระนางได้รับเชิญจากพระฤาษีวาสุเทพผู้ก่อตั้งเมืองขึ้นมาครองเมืองได้ 8 ปี จึงได้สร้างวัดนี้ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1213 เพื่อให้เป็นที่จำพรรษาของพระสังฆเถระที่ติดตามมาจากเมืองละโว้ มีชื่อว่า วัดอรัญญิการาม หรือวัดพระยืนในปัจจุบัน บางแห่งก็ว่าพระเจ้าอัมมิกราช กษัตริย์หริภุญชัยเป็นผู้สร้างขึ้น เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 17 สิ่งที่สำคัญภายในวัดก็คือ พระเจดีย์ทรงมณฑป มีพระพุทธรูปยืนทั้งสี่ทิศ เครื่องบนประกอบด้วยเจดีย์ห้ายอด โดยมีเจดีย์ทรงระฆัง และเจดีย์ทรงกลมขนาดเล็กเป็นประธาน คล้ายคลึงกับอานันทเจดีย์ที่เมืองพุกามและเจดีย์วัดป่าสัก จังหวัดเชียงราย




ดู 4 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page